ไม่มี พรบ.บัตรทองไม่จ่ายนะ

วิธีการใช้บัตรทองกรณีได้รับอุบัติเหตุ
1.เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐ และเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
2. แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรทองและบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)
3. ถ้าได้รับอุบัติเหตุจากรถ เบื้องต้นต้องใช้สิทธิ ตามความคุ้มครองของ พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถก่อน ส่วนเกินถึงใช้สิทธิบัตรทองได้
แต่หากไม่มี พรบ. ต้องทำยังไง!
จากการที่ได้โทรไปสอบถามเบื้องต้นที่ "สายด่วน สปสช. 1330" สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้คำตอบว่า "รถไม่มีพรบ. ไม่สามารถใช้สิทธิ์บัตรทองก่อนค่ะ ต้องชำระเงินค่ารักษาก่อนจนถึง 30,000 บาท จึงจะใช้สิทธิบัตรทองได้ หลังจาก 30,000 นั้นได้
นั่นหมายความว่า หากค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 40,000 บาท คุณจะต้องจ่าย 30,000 บาทก่อน และ อีก 10,000 ที่เหลือ บัตรทองจะจ่ายให้
หรือ หากไม่มีเงิน สามารถ ขอใช้สิทธิ์ได้ ไม่เกิน 15,000 แต่จะโดนเรียกเก็บย้อมหลัง พร้อมดอก 20%
เมื่อ รถไม่มี พรบ. 30 บาทรักษาทุกโรค(บัตรทอง) คุ้มกันเราไหม ?
รายละเอียด : ผู้ประสบภัยขี่จักยานยนต์ไม่มีพ.ร.บ. โรงพยาบาลจะเรียกเก็บเงินจากใครใช้เอกสารอะไรบ้าง และถ้าผู้ประสบภัยจ่ายเงิน จะเรียกเงินคืนได้จากที่ใดหรือไม่
คำตอบ : ผู้ประสบภัยที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. สามารถไปใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น (ค่ารักษาพยาบาลตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท) ได้จากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ (ซึ่งก็คือกรมการประกันภัย และสำนักงานประกันภัยจังหวัดทั่วประเทศ) ในกรณีที่เป็นสถานพยาบาลต้องให้ผู้ประสบภัยเซ็นมอบอำนาจให้ในใน บ.ต.๒ ด้วย สำหรับเอกสารประกอบที่ต้องใช้ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการแจ้งหนี้ และสำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจ สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากรถไม่มีประกันภัย กองทุนจ่ายค่าเสียหายให้ผู้ประสบภัยไปก่อนแล้วจะไปไล่เบี้ยคืนจากเจ้าของรถ โดยบวกเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมทั้งปรับเจ้าของฐานฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัย และผู้ขับขี่ฐานนำรถที่ไม่มีประกันภัยมาใช้อีกคนละไม่เกิน 10,000 บาท
ที่มา บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด http://www.rvp.co.th/faq.html